The Mile Long Opera : A biography of 7 O’Clock
The Mile Long Opera : A biography of 7 O’Clock
Performed on the High Line
October 3—8 2018
High Line เป็นหนึ่งในสวนสาธารณะอันมีชื่อเสียงของนิวยอร์คซึ่งถูกออกแบบขึ้นโดยการปรับเปลื่ยนพื้นที่รกร้างบนเส้นทางรถไฟขนส่งเดิมซึ่งในสมัยก่อนใช้ในการขนย้ายสินค้าจากโกดังเก็บของเข้ามาสู่โรงงานซึ่งถูกทิ้งร้างไว้หลังจากการเข้ามาของธุรกิจรถบรรทุก High Line ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแมนฮัตตันตั้งแต่ Gansevoort street ไล่ขึ้นมาเป็นความยาวกว่า 22 บล็อคถนนจนไปสุดที่ Hudson Yards เป็นงานออกแบบร่วมกันระหว่างกลุ่มภูมิสถาปนิก James Corner Field Operations และกลุ่มสถาปนิก Diller Scofidio + Renfro โดยเปิดเฟซแรกให้ประชาชนได้เริ่มเข้าใช้เมื่อปี 2009
ด้วยจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 8 ล้านคนในปี 2016 the High Line ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น runaway successในแง่ของอสังหาริมทรัพย์และการเพิ่มมูลค่าของพื้นที่ซึ่งแต่ก่อนเป็นเพียงโกดัง โรงงานและทางรถไฟที่ถูกทิ้งร้าง ปัจจุบัน High Line และพื้นที่โดยรอบ (Chealsea และ meat packing district) ล้วนเต็มไปด้วยอสังหาราคาสูงลิบลิ่ว ร้านอาหารและคาเฟ่สุดฮิป ไปจนถึงร้านขายสินค้า High-end มากมาย
ดูเผินๆ High Line ก็เหมือนดูจะทำหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนนิวยอร์คให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่แน่นอนว่าเหรียญย่อมมีสองด้านและด้านที่ดีก็คงไม่ได้ตกอยู่กับผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมในพื้นที่โดยรอบซึ่งส่วนมากไม่ใช่คนขาวและต้องทำงานหาเช้ากินค่ำทั่วไป การเข้ามาของ High Line นับเป็น “new” New York สำหรับพวกเขา เป็น New York ที่มีแต่คนผิวขาว มีศึกษาสูง แต่งตัวดีและสนใจศิลปะ หรือไม่ก็นักท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่สวนสาธารณะสำรับคนในพื้นที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจได้จริง นอกจากนี้การพัฒนาของอสังหาโดยรอบก็ยังเป็นการบังคับทางเศรษฐกิจกลายๆให้ผู้อาศัยเดิมต้องค่อยๆย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากค่าเช่าที่ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
Photo: Rick Darke / Timber Press
การเปลื่ยนแปลงของพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็วนี้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ Elizabeth Diller (หนึ่งในสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Diller Scofidio + Renfro ซึ่งเป็นสตูดิโอออกแบบแบบ interdisaplinary design ที่รวมทั้งงานสถาปัตยกรรม visual arts และ performance arts เข้าไว้ด้วยกันโดยทำงานร่วมกับนักสถาปนิก ศิลปิน นักออกแบบ และนักแสดงจำนวนมาก โดย Diller ยังเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบ High Line ตั้งแต่เริ่มแรกด้วย)และ David Lang (คอมโพเซอร์ชื่อดังชาวนิวยอร์ค) จัด The Mile Long Opera ขึ้น
เนื่องด้วยการจัดงานครั้งนี้ต้องทำการปิดเส้นทางบน High Line จึงทำให้ The Mile Long Opera สามารถจัดได้เพียงแค่ 6 คืน( 3-8ตุลาคม )เท่านั้น โดยงานเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม (7pm) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้จัดงานให้ความหมายว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังเปลื่ยนจากการทำกิจกรรมนึงไปสู่อีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น กำลังเดินทางจากที่ทำงานกลับบ้านและเปลื่ยนจากพนักงานออฟฟิศกลับไปทำหน้าที่พ่อแม่ของลูก หรือเป็นช่วงที่คนทำงานกลางคืนกำลังร่ำลาครอบครัวบนโต้ะอาหารเพื่อเตรียมตัวออกไปทำงานยามดึกเป็นต้น ดังนั้นเวลาช่วงหนึ่งทุ่มนี้จึงในนับเป็นเวลา traditional ที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับบ้าน ครอบครัว และความมั่นคงของชีวิต ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการจัดแสดง performance art ชิ้นนี้ขึ้น
The Mile Long Opera จัดขึ้นอย่างเรียบง่ายแต่ครบถ้วนงดงาม ผู้แสดงทุกคนแต่งกายด้วยชุดลำลองของตนที่มีสีดำเป็นหลักและสวมหมวกแก้ปที่มีไฟ LED ด้านหน้าเพื่อใช้ส่องเน้นสีหน้าของผู้แสดงระหว่างการแสดง หรือถืออุปกรณ์เรืองแสงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ play เช่น แก้วพลาสติกหรือถุงผ้าประกอบเท่านั้น และด้วยความที่ผู้จัดงานเป็นทั้งสถาปนิกและผู้ออกแบบ visual experience ด้วยตนเองและมึความเข้าใจ space ของ High Line เป็นอย่างดี พื้นที่ของสวนจึงถูกออกแบบให้ใช้เป็นพื้นที่การแสดงได้อย่างเหมาะสม โดยห้องในอาคารข้างเคียงที่ตั้งอยู่โดยรอบของ High Line บางส่วนก็ยังถูกเลือกใช้เป็นเวทีสำหรับ performance เพื่อช่วยเน้นเนื้อหาของ play ที่กำลังแสดงอยู่ได้อย่างดีอีกด้วย
performers performed in causal black and was separated from the audiences only by their LED cap hat
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า opera โดยปกติคือการแสดงที่เน้นการร้อง (สลับพูดบ้างในบางครั้ง) ซึ่งเนื้อหาโดยมากจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและ tragedy ของตัวเอกของเรื่อง แต่ในกรณีของ The Mile Long Opera นี้ เนื่องด้วยตัวเอกของเรื่องไม่ได้เป็นใครคนใดคนหนึ่งชัดเจน Ann Carson และ Claudia Rankine ผู้เขียนเนื้อหาเพลงและส่วนพูดของ play จึงได้พยายามนำเอาบทสนทนาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของผู้คนในพื้นที่ระหว่างที่เธอได้ทำการ research เพื่อเขียนเนื้อเพลงเข้ามาใช้ เช่น play #13 : that new cafe ที่ผู้แสดงเล่าถึงความรู้สึกของเธอต่อช่วงเวลาที่เธอได้มีโอกาสเข้าไปใช้บริการคาเฟ่ใกล้บ้านเป็นครั้งสุดท้ายก่อนคาเฟ่ดังกล่าวจะถูกปิดกิจการลงเป็นต้น
The Mile Long Opera : A biography of 7 O’Clock นอกจะเป็น performance ที่เรียบง่ายงดงามและให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องเล่าเล็กๆน้อยๆของผู้คนและสถานที่ที่กำลังถูกลืมและไม่ได้ถูกกล่าวถึงเท่าใดนักในพื้นที่ที่กำลังพัฒนาอย่างเต็มที่อย่าง High Line และ Cheasea แล้ว มองในแง่หนึ่งยังเป็นการเน้นถึงปัญหาและขับเคลื่อนทางอ้อมให้แก่ความไม่เท่าเทียมกันในภายสังคมอันเกิดจากการพัฒนาของเมืองอย่างรวดเร็วโดยรอบพื้นที่แมนฮัตตันอีกด้วย โดย Robert Hammond ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Friend of the High Line ก็ได้ออกมากล่าวว่างานดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของ community โดยรอบ High Line เพื่อต้องการสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นให้ผู้เข้าชมทุกคนได้เข้ามาร่วมฟังและ experience ถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่า The Mile Long Opera : A biography of 7 O’Clock จะผ่านเวลาการจัดแสดงไปแล้ว แต่ผู้ที่สนใจ performance arts หรือการจัดงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเมืองหรือ social issue ก็ยังสามารถเข้าไปที่เวปไซต์ของ The Mile Long Opera เพื่อชม 360 degree virtual reality version ของงานได้ที่ https://milelongopera.com/walk-360/